TOKIMATSU LABORATORY


Department of Transdisciplinary Science and Engineering

TOKYO INSTITUTE OF TECHNOLOGY
Suzukakedai Campus
〒226-0026 G5-10, 4259, Nagatsutacho, Midori, Yokohama, Kanagawa, Japan 

KOJI TOKIMATSU

รองศาสตราจารย์, Tokyo Institute of Technology, School of Environment and Society, Department of Transdisciplinary Science and Engineering
ความชำนาญพิเศษ: Systematic engineering on earth resources, Environmental impact assessment and policy, applied economics

ติดต่อ:
โทรศัพท์: +81.45.924.5533
อีเมล์: tokimatsu.k.ac[at]m.titech.ac.jp

Research area

ภารกิจหลักของเราคือการสนับสนุนสังคมโดยส่งเสริมงานวิจัย และศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีและเศรษฐกิจ-สังคม

เราแสวงหานัยยะสำคัญทางสังคมจากความเข้าใจในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี องค์ประกอบที่สำคัญคือการส่งเสริมสังคมผ่านงานวิจัย ยิ่งไปกว่านั้น Tokyo Institute of Technology (Tokyo Tech) ยังมีจุดเด่น คือการเป็นหนึ่งในสถาบันวิจัยระดับโลก

อย่างไรก็ตาม Tokyo Tech ยังมีจุดอ่อนคือความไม่เพียงพอในการผสมผสานเทคโนโลยีจากวิทยาศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ ดังนั้น แล็บวิจัยของเราจึงพัฒนาทรัพยากรทางการศึกษาวิจัยของ Tokyo Tech ที่มีมากมาย โดยเฉพาะในส่วนของงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และวิศวะพลังงาน, ระบบพลังงาน, สังคมศาสตร์และเทคโนโลยี, นวัตกรรม, ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม, และเศรษฐศาสตร์การพัฒนา

ไอเดียในการศึกษาคือ มองทะลุความต้องการของนักเรียนในขอบเขตวิจัย และสนับสนุนในสิ่งนั้น นักเรียนในแล็บของเราส่วนใหญ่มีทัศนคติของตนเองจากภูมิหลังที่หลากหลาย และทัศนวิสัยในชีวิตที่แตกต่าง

นักเรียนของเราใช้เวลา 2-5 ปี สำหรับหลักสูตรบัณฑิตวิทยาลัย เราหวังว่านักเรียนจะสามารถจัดการตนเอง, ได้ลองหัวข้อวิจัยและกระบวนการวิจัยใหม่ๆ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการทำงานที่ขยันหมั่นเพียรจะแปลเปลี่ยนกลายเป็นนวัตกรรมใหม่ๆสู่สังคม

Research outline

1. เศรษฐศาสตร์การประเมินเทคโนโลยีพลังงาน

ประกอบไปด้วยการประเมินเชิงเศรษฐศาสตร์สำหรับเทคโนโลยีพลังงานในด้านเชื้อเพลิงฟอสซิล, ชีวมวล, ระบบการดักจับและจัดเก็บคาร์บอน, และอื่นๆ ในแง่ของค่าใช้จ่ายไฟฟ้า รวมไปถึงการลดการปล่อยมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม อาทิเช่นคาร์บอนไดออกไซด์


2. การวิเคราะห์ระบบพลังงานและการจัดหาวัสดุ

ทรัพยากรพลังงานและเทคโนโลยีพลังงานนั้นเกี่ยวโยงกัน เนื่องจากคำว่าทรัพยากร มีคำจำกัดความคือ การถ่ายโอนและจัดเก็บภายในระบบเศรษฐกิจและสังคม (เรียกว่า ระบบพลังงาน) ดังนั้น การวิเคราะห์ระบบอุปสงค์ อุปทาน จึงมีความจำเป็น ไม่เพียงแค่สำหรับทรัพยากร แต่ยังจำเป็นสำหรับการทำนายเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ในญี่ปุ่น เอเชีย และทั่วโลกภายในปีคศ.2030, 2050, และ 2100


3. การประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ค่าใช้จ่ายขั้นต้นของการลดการปล่อยมลภาวะสู่สิ่งแวดล้อม อาทิเช่น CO2, SOx, NOx นั้นได้มีการประเมินในโครงร่างการวิจัยหัวข้อข้างต้น ในส่วนของการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมนั้นจะใช้โมเดล Life Cycle Impact Assessment (LCIA) และ Integrated Assessment Modeling (IAM) และใช้การประมาณค่า Marginal Willingness to Pay (MWTP) โดยการใช้แบบสำรวจ


4. การประเมินความยั่งยืนด้วยดัชนีต่างๆ

วิเคราะห์ดัชนีการประเมินความยั่งยืนจากผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม, ทรัพยากร, และเศรษฐศาสตร์ โดยใช้ตัวบ่งชี้เป็นความมั่งคั่ง (Inclusive wealth) ในการเก็บข้อมูลความเปลี่ยนแปลงของความยั่งยืน ขอบเขตการวิจัยนี้ยังรวมไปถึงการศึกษาตัวบ่งชี้อื่นๆ อาทิเช่น Resources Productivity, Eco-Efficiency, และ Human Appropriated Photosynthetic Net Primary Productivity (HANPP) อีกด้วย